21 มิ.ย. 2550

แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์ผู้สอนประจำแผนกวิชาช่างก่อสร้าง

1. นายณรงค์ กลิ่นมาลัย

รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพปากช่อง

(E-mail > narong_081@yahoo.com)

2. นายวรดร ทิพย์ศรี
ครูพิเศษแผนกวิชาช่างก่อสร้าง

(เฉพาะวันเสาร์ - วันอาทิตย์)
(E-mail > woradon12@yahoo.com)

3. นายพงษ์ณรินทร์ ภู่ดี
ครูพิเศษแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
(เฉพาะวันเสาร์ - วันอาทิตย์)

(E-mail > poodee2518@yahoo.com)

19 มิ.ย. 2550


ตัวอย่างปกหนังสือที่ใช้ในการเรียนวิชาประมาณราคาก่อสร้าง
ให้มีหนังสืออย่างน้อย 1 เล่ม จะเลือกเล่มไหนก็ได้
1. หนังสือรวบรวมข้อมูลก่อสร้างของอาจารย์นิมิตร
2. หนังสือการประมาณราคาก่อสร้างของอาจารย์ดร.วินิต ช่อวิเชียร
3. หนังสือการประมาณราคาก่อสร้างของอาจารย์กีรติ
รายนามผู้ที่ตอบ Mail กลับมา
1. นายอาทิตย์ เชี่ยวพานิชย์ วันเสาร์ที่ 16 มิ.ย. 50
กำหนดให้ส่งแบบโดยแนบไฟล์มาด้วย เพราะยังไม่มีใครมายื่นความจำนง
ขอเลื่อนกำหนดส่งแบบและใบ BOQ วันศุกร์ที่ 22 มิ.ย. 50

9 มิ.ย. 2550

หลังจากอ่านบทความให้กดที่ความคิดเห็น (Comment) กรุณากรอกชื่อ - นามสกุล และกดที่เผยแพร่
ขอบคุณที่มาของบทความ http://www.thaihomemaster.com/ หมวด : ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน
การเผื่อวัสดุสูญเสีย ในการประมาณราคาก่อสร้าง (ข้อมูลจากกรมโยธา)
1. งานขุดดินฐานรากและถมดิน คิดเผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%

2. งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ คิดเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยแรงคน
- งานถมทราย เผื่อ 25%
- งานถมดิน เผื่อ 30%
- งานถมลูกรัง เผื่อ 35%
- งานถมอิฐหัก เผื่อ 25%
3. งานไม้แบบหล่อคอนกรีต
- ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ปริมาตรประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต
- ไม้เคร่ายึดไม้แบบ คิด 30% ของปริมาณไม้แบบ
- ไม้ค้ำยันไม้แบบ
* ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานคิด 1 ตัน/ความยาว 1 เมตร
* ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นคิด 1 ตัน/ตารางเมตร
4. การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง
- อาคารชั้นเดียว ลด 20% ใช้ 80%
- อาคาร 2 ชั้น ลด 30% ใช้ 70%
- อาคาร 3 ชั้น ลด 40% ใช้ 60%
- อาคาร 4 ชั้นขึ้นไป ลด 50% ใช้ 50%
การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต ลดลงเฉพาะปริมาณวัตถุไม้แบบเคร่า ยึดไม้แบบและไม้ค้ำยันส่วนค่าแรงคิดเต็มปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีตทั้งหมด
5. ลวดผูกเหล็กเสริม คิด 30 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
6. ปริมาณตะปูของงานประเภทต่างๆ
- งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร
- งานติดตั้งโครงหลังคาไม้
* ทรงเพิงแหงน ใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร
* ทรงจั่วใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร
* ทรงปั้นหยา ใช้ 0.25 กก./ตารางเมตร
* ทรงไทย ใช้ 0.30 กก./ตารางเมตร
หมายเหตุ หลังจากอ่านบทความจบแล้วกดที่ความคิดเห็น (Comment) ให้กรอกชื่อ - นามสกุล และกดคำว่าเผยแพร่ความคิดเห็น
หาผู้รับเหมาสร้างบ้าน ไม่โกง ไม่โก่ง ไม่กด
ขอบคุณ stonebase ที่เอื้อเฟื้อข้อคิด และ http://www.thaihomemaster.com/showpage.php?url=showinformation.php?TYPE=12
่สำหรับคนที่ไม่เคยสร้างบ้าน ตอนกำลังหาผู้รับเหมาคงจะเกิดความกังวลขึ้นมาได้สารพัด จากที่เราเคยได้ยินมาว่าวงการนี้นั้นเขี้ยวลากดินกันทั้งนั้น เช่นแอบลดแบบ งานไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน เบิกเงินก่อนแล้วไม่ทำงาน ฯลฯ จะทำอย่างไรดี ผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ
1. ถ้าเป็นผู้รับเหมาที่เป็นคนรู้จักได้ก็ดี อย่างน้อยก็เกรงใจกันเห็นแก่ความสัมพันธ์กันบ้างครับ
2. ดูผลงานเดิมว่าทำมามากแค่ไหน และงานออกมาดีแค่ไหน
3. ติดต่อเช็คราคาหลายๆเจ้า และให้แต่ละรายทราบด้วยว่าเราเชคราคา จะป้องกันการโก่งราคาได้ครับ
4. ให้มีการเซ็นสัญญาพร้อม แบบ และรายการวัสดุ (BOQ)อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีแล้วมักจะมีปัญหาขัดแย้งกันภายหลัง
5. การจ่ายเงินเป็นงวดๆ ตรงนี้สำคัญมากครับ ถ้าคุณให้ผู้รับเหมากำไรมากในงวดงานช่วงแรกๆ แล้วกำไรน้อยในงวดหลัง ผู้รับเหมาเมื่อเบิกเงินงวดแรกแล้วอาจจะทิ้งงานได้ จึงต้องให้การเสนอราคาของผู้รับเหมาเป็นรายการวัสดุ (BOQ)ให้เราทราบว่ามูลค่างานแต่ละส่วนเป็นเท่าใด เมื่องานในแต่ละส่วนแล้วเสร็จมีการเบิกเงิน ควรจะมีการหักเงินบางส่วนไว้ ประมาณ 5-10 % เพื่อให้ผู้รับเหมามีเงินค้างไว้กับเรา แล้วไปได้กำไรในงวดสุดท้าย จะทำให้ผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน และเป็นการประกันผลงานได้บ้าง
6. ถ้ามีเวลาก็ศึกษาหาข้อมูลในเรื่องงานก่อสร้างไว้
7. คอยตรวจตราหน้างานอยู่เสมอ
สำหรับงานขนาดใหญ่ ควรจะมีวิศวกรที่ปรีกษาและคุมงาน สุดท้ายคงไม่มีอะไรได้ 100 เปอร์เซนต์ แต่เชื่อว่าถ้าคุณเตรียมการดังกล่าวได้ดีแล้ว ผลที่ได้ก็น่าจะคุ้มกับการลงแรงครับ
นอกจากการเตรียมรับมือกับบรรดาผู้รับเหมาจอมเขี้ยวแล้ว อย่าลืมว่าวงการนี้ก็ยังมีคนดีๆ ทำงานตรงไปตรงมาอยู่ด้วย ในส่วนเจ้าของงานเองก็อย่ากดราคาจนเกินไปนะครับ ปัญหาอีกอย่างคือเจ้าของงานส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่คนในวงการก่อสร้าง ตอนดูแบบอาจจะไม่เห็นภาพชัดนัก พอสร้างจริงปรากฏว่าไม่ค่อยตรงกับที่นึกภาพไว้แต่แรก มักจะมีการเปลี่ยนแปลง รื้อทุบ เพิ่มเติม ได้เสมอๆ หากมีมากๆเข้าผู้รับเหมาแย่เหมือนกัน ควรจะจ่ายในส่วนเพิ่มเติมแก้ไขด้วยครับ ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งซึ่ง BOQ จะเป็นตัวสรุปราคาส่วนเปลี่ยนแปลงให้คุณได้ ถึงจะจ่ายตามราคาแล้วก็ไม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป เพราะบางครั้งทำให้ล่าช้าจนงานผิดแผนออกไปมาก จะมีผลเสียทั้งสองฝ่าย ทางที่ดีตอนออกแบบพยายามดูแบบให้เข้าใจ เพื่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงหน้างานให้น้อยที่สุดครับ
หมายเหตุ หลังจากอ่านบทความจบแล้วกดที่ความคิดเห็น (Comment) ให้กรอกชื่อ - นามสกุล และกดคำว่าเผยแพร่ความคิดเห็น
ขอบคุณที่มาของบทความ http://www.thaihomemaster.com/showpage.php?url=showinformation.php?TYPE=12 ระดับดินที่เหมาะสม
ก่อนที่จะทำการสร้างบ้าน หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เจ้าของแทบทุกรายจะต้องเกิดคำถามว่าระดับดินของบ้านหรือโครงการนั้นจะเอาสูงแค่ไหน การที่จะตอบปัญหาข้อนี้ควรจะดูปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น
1. บริเวณพื้นที่นั้นมีน้ำท่วมหรือเปล่า ท่วมสูงแค่ไหน อาจจะต้องสอบถามจากผู้คนแถวๆ นั้น หรือถ้าสามารถดูร่องรอยน้ำท่วมที่อยู่ตามสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ก็ยิ่งดีครับ
2. ระดับท่อระบายน้ำและบ่อพักสูงแต่ไหน ระดับน้ำในระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่นั้นอยู่ที่ระดับไหน สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่ หากระดับที่คุณต้องการถมอยู่ค่อนข้างสูงก็ไม่เป็นไรจะไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ แต่ถ้าระดับของคุณค่อนข้างต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง(ไม่ควรแต่จะด้วยเหตุจำเป็นใดๆ ก็ตาม) ควรจะเช็คตัวนี้ด้วยครับเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในบ้านเราสามารถระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้
3. ระดับถนนหน้าบ้าน และระดับดินพื้นที่ข้างเคียง ปัจจุบันมีการถมยกระดับถนนกันมาก แข่งกันถมทั้งถนน ทั้งเพื่อนบ้าน ถ้าสามารถให้ระดับดินของเราใกล้เคียงกับพื้นที่รอบๆก็น่าจะดีครับ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของโครงสร้างรั้ว การระบายน้ำ ฯลฯ
การกำหนดระดับดินถมควรดูปัจจัยรอบๆ ด้าน ถมสูงหน่อยได้เปรียบ แต่ค่าถมและค่ากำแพงกันดินจะแพงขึ้นตามระดับครับ

ทำไมต้องใช้ลูกรัง
ดินลูกรังสามารถบดอัดได้ดี เมื่อบดอัดแล้วจะแน่นแข็ง เหมาะแก่การถมเพื่อทำผิวถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ทำสวน ในการถมที่ปลูกบ้านอาจจะแบ่งโซนเป็นดินลูกรังเฉพาะส่วนถนนก็ได้ครับ

ถมดินก่อสร้างบ้าน หรือ ถมทีหลังดี
การถมดินก่อนสร้างบ้านเครื่องจักรจะทำงานได้ง่าย อีกทั้งดินที่ถมทิ้งไว้จะยุบตัวไปบางส่วนขณะทำการก่อสร้าง เมื่อท่านสร้างบ้านเสร็จแล้วค่อยปรับระดับหน้าดิน และบดอัดดินทำถนนอีกครั้ง ดินจะยุบตัวอีกหลังจากนั้นไม่มากแล้วครับ

ถมดินอย่างไรไม่ทรุด (สำหรับดินบริเวณทั่วไป หรือ จัดสวน)
เรื่องการทรุดตัวของดินเกิดจากหลายสาเหตุคือ
1. ดินที่นำมาถมเมื่อถูกขุดและขนย้ายแล้วนำมาถม เนื้อดินจะไม่แน่นมีโพรงอยู่ข้างใน เมื่อถมทิ้งไว้สักหลายๆ เดือนดินจะค่อยๆ ยุบตัวโดยที่โพรงอากาศข้างในจะถูกน้ำหนักดินกดเอาเนื้อดินเข้ามาแทนที่ ทางแก้คือใช้รถแบคโฮ รถบรรทุกดินหรือรถแทรกเตอร์ วิ่งบดไปบดมาเป็นชั้นๆ ละ 30-50 เซนติเมตร จะทำให้โพรงเหล่านี้ยุบลงไปได้มาก กรณีของถนนต้องใช้สเปกสำหรับทำถนนซึ่งยุ่งยากทีเดียว
2. ดินเดิมเมื่อถูกน้ำหนักดินถมกดลงมาก็จะยุบตัว ยุบมากยุบน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินเดิมว่ามีความแน่นเพียงใด เช่นดินเดิมที่เคยใช้เป็นลานจอดรถมานานและมีรถเข้าออกจอดอยู่เสมอก็จะทรุดน้อย ดินเดิมที่เป็นท้องนาหรือที่ต่ำขังน้ำดินอุ้มน้ำไว้มากจะทรุดตัวมาก ไม่มีทางแก้ครับ ดินจะทรุดไปตามธรรมชาติ แต่ไม่นานอาการนี้จะหยุดไปเอง
3. ดินทรุดจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล อันนี้ก็ไม่มีทางแก้เช่นกัน ต้องทรุดลงไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว อาการนี้ไม่หยุด (ยกเว้นจะหยุดสูบน้ำบาดาลอาการก็จะค่อยๆ ช้าลง)
4. อินทรีย์วัตถุผิวดิน เช่นบริเวณน้ำขังจะมีขี้เลนซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถถุจากการเน่าเปื่อยของพืชน้ำ รวมทั้งซากต้นไม้ต่างๆ ด้วย เมื่อถมดินกลบไปแล้วจะค่อยๆ ย่อยสลายยุบตัวแล้วดินถมที่อยู่ข้างบนก็จะยุบตัวตามลงมา ทางแก้กรณีเป็นที่น้ำขัง ถ้ามีขี้เลนเหลวๆ รวมทั้งพืชน้ำต่างๆ ให้ลอกออกก่อน ถ้าเป็นที่แห้งให้ถางพืชต่างๆ รวมทั้งขุดตอไม้ใหญ่ออกด้วย หรืออาจใช้วิธีจุดไฟเผาก็ได้ถ้าสามารถควบคุมการลุกลามของไฟได้ ดินถมบริเวณใดไม่ได้มีการลอกเลน หรือบริเวณที่มีอินทรีย์วัตถุออกอยู่มากเอาออกไม่หมด ก็จะยุบเป็นหลุมๆ
หากมีการคุมงานที่ดี ตามวิธีในข้อ 1 และข้อ 4 แล้วดินที่ถมจะไม่ยุบมาก ไม่ต้องมาปรับระดับที่หลังอีกที (หรือปรับไม่มาก) ครับ
ในการพิจารณาว่าต้องมีการบดอัด หรือมาตราการป้องกันดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเราต้องใช้พื้นที่บริเวณนั้นอย่างไร เช่นถ้าใช้เป็นถนนคอนกรีตจะต้องมีการบดอัด และกำจัดเศษวัชพืชอย่างดี เนื่องจากการทรุดตัวของดินต่างกันเล็กน้อยก็อาจทำให้ผิวถนนแตกร้าวได้ แต่ถ้าใช้เป็นพื้นที่จัดสวนนั้นเราสามารถปรับระดับดินภายหลังจากที่ทิ้งให้ดินยุบตัวไปสักปีสองปีแล้ว แต่ก็ควรจะบดอัดบ้างเหมือนกันถ้าเราต้องการสวนที่สวยเรียบในปีแรกๆ ครับ

ถมดินอย่างไรไม่โดนโก่งราคา
ในการถมดินสำหรับเจ้าของงานนั้นไม่แนะนำให้จ้างรถดินขน และจ้างรถบดเข้ามาเองครับ เนื่องจากถ้าไม่คุ้นเคยกับงานแล้วอาจจะโดนโกงได้ง่าย ควรจะจ้างผู้รับเหมาถมดินให้จัดการให้เสร็จ แล้วทีนี้การติดต่อกับผู้รับเหมาถมดิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ ตกลงกันตรงไหน
1. เริ่มที่การคิดปริมาณดิน ก็คือ กว้างคูณยาวคูณสูง หรือพื้นที่คูณความสูงนั่นเอง ในกรณีที่พื้นที่เดิมไม่สม่ำเสมออาจจะต้องเฉลี่ยระดับ กรณีพื้นที่กว้างๆ มูลค่างานมาก ควรจะจ้างช่างสำรวจหาระดับดินในตำแหน่งต่างๆ แล้วคำนวณปริมาณดินออกมา
2. ราคาต่อหน่วย เมื่อทราบปริมาณดินที่ต้องการแล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยก็จะเป็นราคารวม ราคาต่อหน่วยนี้ต้องสูงกว่าราคาดินจากรถขนดิน เนื่องจากเวลานำดินมาบดอัดแล้วปริมาตรจะยุบตัวลงไป และผู้รับเหมาต้องบวกค่าดำเนินการ กำไรต่างๆ ด้วย ให้ลองเช็คราคาดูกับผู้รับเหมาหลายๆ ราย ก็จะทำให้เราทราบราคาตลาดครับ
3. ข้อกำหนดในการทำงาน เช่น ต้องลอกเลนหรือไม่(น่าจะลอกนะครับ) บดอัดทุก 30 ซม หรือ 50 ซม. ซึ่งจะคุมเข้มแค่ไหนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานพื้นที่ เช่นพื้นที่ถมทิ้งไว้เฉยๆ หรือใช้จัดสวน ก็ควรมีการบดอัดบ้าง แต่ถ้าเป็นถนนต้องมีการบดอัดและควบคุมคุณภาพอย่างดีไม่งั้นถนนจะแตกร้าวได้ครับ
4. ตอนทำงานควรไปดูบ่อยๆ ด้วยครับ ผู้รับเหมาจะได้ทำตามที่ได้ตกลงกัน
5. ก่อนเริ่มทำการถม ควรมีการทำระดับอ้างอิงไว้เพื่อตรวจสอบ เช่นการพ่นสี ตอกตะปูกำหนดระดับไว้ตามเสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียงที่มีลักษณะถาวร ไม่เคลื่อนย้าย เมื่อผู้รับเหมาจะส่งมอบงานจะได้ทำการตรวจสอบได้ครับ

ระวังรั้วเอียงด้วยนะจ๊ะ
ธรรมชาติดินนั้นมันไม่ใช่เพียงอยู่นิ่งๆ เท่านั้น แต่มันจะมีแรงดันทางด้านข้างด้วย ดินที่ระดับเท่ากันต่างคนต่างดันกันเองกับเพื่อนๆ รอบตัวมัน ก็ไม่เป็นไร แต่ดินต่างระดับความสูงที่ถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงรั้วนั้น ดินที่สูงกว่าจะมีแรงดันมากกว่าผลักออกไปทางดินที่ต่ำกว่า แรงนี้เองที่กำแพงรั้วจะต้องรับไว้ คุณจึงเอากำแพงรั้วแบบธรรมดามาใช้เป็นกันดินที่ต่างระดับมากๆ ไม่ได้ครับ โครงสร้างกำแพงรั้วต้องออกแบบให้รับแรงดันดินได้โดยไม่เอียง
เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง
งานก่อสร้างในยุคปัจจุบันนี้ ได้นำเอาเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องจักรกลต่างๆ เข้ามาใช้ดำเนินการเป็นจำนวนมาก นับวันยิ่งจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้องการงานทีได้มาตรฐานตรงตามข้อกำหนดในรายการก่อสร้าง (Specifications) หรืออีกประการหนึ่ง คือ ทำเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยมุ่งหวังให้งานเสร็จทันตามกำหนดเวลา ถึงแม้ว่าแรงงาน (Labour) ประเทศเราจะหาได้ง่าย และค่าแรงงานถูก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
เหตุผลสำคัญที่นำเครื่องจักรกลมาใช้งานก่อสร้าง คือ
1.ประสิทธิภาพการทำงานบางอย่างสูงกว่าการใช้แรงงาน เครื่องจักรกลบางชนิดใช้แทนแรงงานได้หลายๆ คน และเมื่อใช้เครื่องจักรกลแล้ว ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการใช้แรงงานอีก
2.การทำงานบางอย่างซึ่งถ้าใช้แรงงานแล้ว อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง และไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาได้
3.ลักษณะของงานก่อสร้างบางอย่าง ต้องกระทำให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในรายการก่อสร้าง เช่น การบดอัด การตัดเกรด เป็นต้น ซึ่งแรงงานไม่สามารถจะทำให้ได้ผลดีเท่ากับเครื่องจักรกล และในงานบางประเภทไม่สามารถจะใช้แรงงานได้เลย ต้องใช้เฉพาะเครื่องจักรกล เท่านั้น
4.แนวโน้มของค่าแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการคิดค้นเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เข้ามาใช้งาน เพื่อจะได้ลดจำนวนคนงานลงได้
5.การใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นได้เสมอ เป็นปัญหาเรื่องที่อยู่ อุบัติเหตุ ข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แรงงานด้วยกันเอง การร้องเรียกผลประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนการนัดหยุดงาน เพื่อต่อรองกับผู้รับเหมาก่อสร้าง อันเป็นปัญหาแรงงานซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเวลาและค่าใช้จ่ายของงานโครงการอย่างแน่นอน
ดังนั้นการใช้เครื่องจักรกลจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรโครงการ (Project Engineer) ว่าควรจะใช้เครื่องจักรชนิดไหนกับงานรูปแบบใด หรือจะนำไปใช้กับงานในภูมิประเทศอย่างไร ซึ่งเครื่องจักรกลแต่ละชนิด แต่ละแบบนั้นย่อมมีความเหมาะสมกับงานและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันด้วย
ประเภทของเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง
มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทหลายชนิด ซึ่งแต่ละประเภทแต่ละชนิดมีขีดความสามารถ และความเหมาะสมกับการใช้งานแต่ละอย่างต่างกันไป ดังนั้น ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นอกจากจะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการก่อสร้างเป็นอย่างดีแล้วจะต้องรู้จักเลือกใช้ประเภท ชนิดและขนาดของเครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับสภาพงานนั้นๆ ด้วย จึงคุ้มค่ากับการลงทุน สำหรับการแบ่งประเภทของเครื่องจักรกลได้แบ่งออกเป็นประเภทของการใช้งานคือ
1. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกและขนถ่ายวัสดุ
2. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกในงานดิน
3. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกในงานคอนกรีต
4. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานถนน
5. เครื่องจักรกลที่ใช้กับงานฐานราก
6. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานขุดเจาะ
หลักการเลือกใช้เครื่องจักรกล
หลักการทั่วไปควรเลือกใช้เครื่องจักรกลที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ มีบริการอะไหล่พร้อมเพียงอย่างสม่ำเสมอ มีบริการซ่อมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อลดเวลาการซ่อมบำรุงให้น้อยลง จะได้มีเวลาในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้งานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น และลดต้นทุนการก่อสร้างให้ถูกลง โดยมีข้อควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
1. เลือกขนาดเครื่องจักรกลว่าจะต้องใช้เครื่องจักรกลขนาดใด ชนิดไหนจึงจะเหมาะสมกับงานที่กระทำอยู่ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของงาน ระยะทางการขนถ่ายวัสดุจากแหล่งวัสดุไปยังบริเวณก่อสร้าง หลักสำคัญคือจะต้องให้เครื่องจักรกลต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กัน โดยไม่ต้องหยุดรอเครื่องจักรกลบางเครื่อง ในขณะที่เครื่องจักรกลอื่นทำงานอยู่ ทั้งนี้จะต้องให้เครื่องจักรกลแต่ละเครื่องทำงานเต็มกำลังความสามารถ ดังนั้น การเลือกเครื่องจักรกลจึงต้องพอเหมาะกับงานไม่มีขนาดใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
2. เลือกใช้เครื่องจักรกลแต่ละชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงานและสภาพของงาน เพื่อให้เครื่องจักรกลมีอายุการใช้งานยาวนาน เป็นการลดต้นทุนการซ่อมบำรุงไปด้วย เช่น เครื่องจักรกลที่มีอุปกรณ์สำหรับงานดินไม่ควรนำไปใช้กับงานหิน ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานชองเครื่องจักรกลนั้นสั้นลง หรือ รถตักก็ไม่ควรนำไปใช้งานดันหรือตักดินโดยไม่กองดินไว้ก่อนโดยรถแทรกเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเครื่องจักรกลแต่ละชนิดได้ออกแบบเพื่อใช้งานเฉพาะแต่ละอย่างเท่านั้น ถ้านำไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี จึงเป็นการไม่คุ้มค่ากัน
3. ใช้เครื่องจักรกลให้เต็มความสามารถ แต่ต้องไม่เกินขีดความสามารถเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เครื่องจักรเหล่านั้น บางเครื่องอาจต้องติดอุปกรณ์พิเศษบางอย่างช่วย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน เช่น ใช้ลิปเปอร์ติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อขุดลากกับสภาพของดินหรือหิน ซึ่งแข็งเกินกว่าที่จะใช้ใบมีดไถดันโดยตรง ลักษณะเช่นนี้ย่อมจะทำให้งานง่ายขึ้น และยังช่วยให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรกลยาวนานขึ้นอีกด้วย
4. ใช้เครื่องจักรกลตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรกลได้ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็จะต่ำลง ทั้งนี้จะต้องเลือกผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องจักรกลนั้นๆ เป็นอย่างดี โดยกำหนดหน้าที่เป็นพนักงานบังคับรถตลอดจนมีผู้ดูแลบำรุงรักษาประจำรถ หรือเครื่องจักรกลนั้นๆ ด้วย
5. ในงานก่อสร้างผู้ควบคุมควรมีความเข้าใจถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่เครื่องจักรกลบ้างตามสมควร ถ้าเกิดการชำรุดเพียงเล็กน้อยก็ควรหยุดเพื่อตรวจสอบและแก้ไข เพื่อป้องกันการเสียหายมากขึ้น จนต้อหยุดซ่อมเครื่องจักรกลเป็นเวลาหลายๆ วันซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การทำงานต้องชะงักลงด้วย และแผนการทำงานรองโครงการต้องล่าช้ากว่าปกติปัญหา
สาเหตุของอุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล
แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ทางด้านแรงงาน พนักงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักรกล และผู้ปฏิบัติงาน
- แรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นชาวนา ชาวไร่ มีการศึกษาไม่สูงนักขาดความรู้ ทักษะการทำงานที่ใช้เครื่องจักรกล
- ขาดระเบียบในการทำงานกับเครื่องจักรกล โดยมักจะไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
- ทางบริษัทผู้รับผิดชอบไม่มีการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานก่อนที่จะทำงานกับเครื่องจักรกล
2. ทางด้านเครื่องจักรกล
- การใช้เครื่องจักรกลผิดประเภทกับงานที่ทำ เครื่องจักรแต่ละชนิดจะถูกออกแบบ และกำหนดแนวทางการใช้เฉพาะงาน
- การใช้เครื่องจักรกลเกินขีดความสามารถที่จะทำได้- มีการแก้ไขดัดแปลงเครื่องจักรกลเอง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์- ไม่มีมาตรการ และออกกฎระเบียบในการใช้เครื่องจักรกลนั้นๆ
- ไม่มีการบำรุงตรวจสภาพเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ประกอบตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด