9 มิ.ย. 2550

หมายเหตุ หลังจากอ่านบทความจบแล้วกดที่ความคิดเห็น (Comment) ให้กรอกชื่อ - นามสกุล และกดคำว่าเผยแพร่ความคิดเห็น
หาผู้รับเหมาสร้างบ้าน ไม่โกง ไม่โก่ง ไม่กด
ขอบคุณ stonebase ที่เอื้อเฟื้อข้อคิด และ http://www.thaihomemaster.com/showpage.php?url=showinformation.php?TYPE=12
่สำหรับคนที่ไม่เคยสร้างบ้าน ตอนกำลังหาผู้รับเหมาคงจะเกิดความกังวลขึ้นมาได้สารพัด จากที่เราเคยได้ยินมาว่าวงการนี้นั้นเขี้ยวลากดินกันทั้งนั้น เช่นแอบลดแบบ งานไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน เบิกเงินก่อนแล้วไม่ทำงาน ฯลฯ จะทำอย่างไรดี ผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ
1. ถ้าเป็นผู้รับเหมาที่เป็นคนรู้จักได้ก็ดี อย่างน้อยก็เกรงใจกันเห็นแก่ความสัมพันธ์กันบ้างครับ
2. ดูผลงานเดิมว่าทำมามากแค่ไหน และงานออกมาดีแค่ไหน
3. ติดต่อเช็คราคาหลายๆเจ้า และให้แต่ละรายทราบด้วยว่าเราเชคราคา จะป้องกันการโก่งราคาได้ครับ
4. ให้มีการเซ็นสัญญาพร้อม แบบ และรายการวัสดุ (BOQ)อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีแล้วมักจะมีปัญหาขัดแย้งกันภายหลัง
5. การจ่ายเงินเป็นงวดๆ ตรงนี้สำคัญมากครับ ถ้าคุณให้ผู้รับเหมากำไรมากในงวดงานช่วงแรกๆ แล้วกำไรน้อยในงวดหลัง ผู้รับเหมาเมื่อเบิกเงินงวดแรกแล้วอาจจะทิ้งงานได้ จึงต้องให้การเสนอราคาของผู้รับเหมาเป็นรายการวัสดุ (BOQ)ให้เราทราบว่ามูลค่างานแต่ละส่วนเป็นเท่าใด เมื่องานในแต่ละส่วนแล้วเสร็จมีการเบิกเงิน ควรจะมีการหักเงินบางส่วนไว้ ประมาณ 5-10 % เพื่อให้ผู้รับเหมามีเงินค้างไว้กับเรา แล้วไปได้กำไรในงวดสุดท้าย จะทำให้ผู้รับเหมาไม่ทิ้งงาน และเป็นการประกันผลงานได้บ้าง
6. ถ้ามีเวลาก็ศึกษาหาข้อมูลในเรื่องงานก่อสร้างไว้
7. คอยตรวจตราหน้างานอยู่เสมอ
สำหรับงานขนาดใหญ่ ควรจะมีวิศวกรที่ปรีกษาและคุมงาน สุดท้ายคงไม่มีอะไรได้ 100 เปอร์เซนต์ แต่เชื่อว่าถ้าคุณเตรียมการดังกล่าวได้ดีแล้ว ผลที่ได้ก็น่าจะคุ้มกับการลงแรงครับ
นอกจากการเตรียมรับมือกับบรรดาผู้รับเหมาจอมเขี้ยวแล้ว อย่าลืมว่าวงการนี้ก็ยังมีคนดีๆ ทำงานตรงไปตรงมาอยู่ด้วย ในส่วนเจ้าของงานเองก็อย่ากดราคาจนเกินไปนะครับ ปัญหาอีกอย่างคือเจ้าของงานส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่คนในวงการก่อสร้าง ตอนดูแบบอาจจะไม่เห็นภาพชัดนัก พอสร้างจริงปรากฏว่าไม่ค่อยตรงกับที่นึกภาพไว้แต่แรก มักจะมีการเปลี่ยนแปลง รื้อทุบ เพิ่มเติม ได้เสมอๆ หากมีมากๆเข้าผู้รับเหมาแย่เหมือนกัน ควรจะจ่ายในส่วนเพิ่มเติมแก้ไขด้วยครับ ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งซึ่ง BOQ จะเป็นตัวสรุปราคาส่วนเปลี่ยนแปลงให้คุณได้ ถึงจะจ่ายตามราคาแล้วก็ไม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป เพราะบางครั้งทำให้ล่าช้าจนงานผิดแผนออกไปมาก จะมีผลเสียทั้งสองฝ่าย ทางที่ดีตอนออกแบบพยายามดูแบบให้เข้าใจ เพื่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงหน้างานให้น้อยที่สุดครับ

1 ความคิดเห็น:

tiwakorn กล่าวว่า...

นายทิวากร ศรีสัมพันธ์